วันพุธที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

โปรแกรมโหลด bittorrent บน Acer Aspire One Linux

โปรแกรมหนึ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับผู้รักความบันเทิงแบบผม คือ โปรแกรม Torrent Client สำหรับบนลีนุซ์ตัวที่ผมชอบที่สุดคือโปรแกรม deluge ซึ่งหน้าตามันจะคล้าย ๆ กับ uTorrent ในวินโดวส์ครับ



วิธีการติดตั้งก็พิมพ์รันคอมมานด์

su -
yum install deluge

หลังจากนั้นก็ตอบ Y ไปเรื่อย ๆ เป็นอันเสร็จครับ

<< คำเตือน โปรดอย่าสนับสนุนเทปผีซีดีเถื่อน >>

การต่ออินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือใน Linpus Linux บน Acer Aspire One (ผ่าน USB)

สำหรับวิธีการต่ออินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือนั้นทำได้สองวิธีคือ ผ่านสาย USB หรือ Bluetooth อันดับแรกเราต้องติดต่อกับอุปกรณ์ที่เราจะต่ออินเตอร์เน็ตให้ได้ก่อน สำหรับ USB นั้นไม่ยากเพียงแค่เสียบสาย USB ระบบจะตรวจพบโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าเป็นบลูทูธจะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม ซึ่งวิธีการสามารถอ่านได้จากบทความที่ผมเคยโพสไปก่อนหน้านี้

การต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน USB
อุปกรณ์ที่ต้องใช้มีดังต่อไปนี้
  1. สายลิงค์เคเบิ้ล (ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ และรุ่นของโทรศัพท์)

  2. โทรศัพท์ซึ่งมีโมเด็มในตัวสามารถต่ออินเตอร์เน็ตได้



วิธีการติดตั้ง
  1. เนื่องจากลีนุกซ์รุ่นที่เอเซอร์ให้เรามาจะขาดไดร์เวอร์ของอุปกรณ์หลาย ๆ ตัว (ไม่เต็มเพราะเป็นรุ่นไลท์) ตัว USB โมเด็มก็เช่นกัน เราต้องการใช้โมดูล cdc-acm ดังนั้นเราจะต้องคอมไพล์โมดูลใหม่ หรือดาวน์โหลดตัวที่ผมทำไว้แล้วที่นี่ครับ
  2. ทำการย้ายโมดูลไปที่ /lib/modules/2.6.23.9lw/usb/class/
    โดยใช้คำสั่งต่อไปนี้
    • พิมพ์ Alt+F2 เปิดหน้าต่างรันโปรแกรมพิมพ์ terminal หรือปล่อยว่างไว้แต่ว่าต้องติ๊กที่ Run in Terminal ด้วยเพื่อเปิดหน้าต่างรับคอมมานต์
    • เขียนคำสั่งต่อไปนี้

      su - (จะมีการถามพาสเวิร์ดของ root)
      mkdir -p /lib/modules/2.6.23.9lw/usb/class (สร้างโฟลเดอร์ใหม่)
      cp [ตำแหน่งที่ดาวนโหลดไฟล์มาใส่]* /lib/modules/2.6.23.9lw/usb/class/
      mknod /dev/ttyACM0 c 166 0 (สร้างโหนดอุปกรณ์ใหม่)
      depmod -a (สร้างลิสต์ของโมดูลทที่มีความเกี่ยวข้อง)
      modprobe cdc-acm (โหลดโมดูล cdc-acm)

      *ขออธิบายเพิ่มเติมเรื่องตำแหน่งไฟล์ในลีนุกซ์
      สมมุติว่าเราดาวน์โหลดไฟล์ cdc-acm.ko มาใส่ที่ Downloads ตำแหน่งไฟล์จะอยู่ที่

      /home/user/Downloads/cdc-acm.ko (ถ้าไม่ได้เพิ่ม SD)
      หรือ
      /mnt/home/Downloads/cdc-acm.ko (ถ้าเพิ่ม SD การ์ดแล้ว)

  3. เสียบสาย USB กับโทรศัพท์ที่ต้องการติดต่อ (สำหรับ Nokia เลือกโหมด PC Suite) สามารตรวจสอบการติดต่อด้วยการพิมพ์คำสั่ง lsusb ในเทอร์มินัล


  4. เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วก็สามารถที่จะต่อโมเด็มได้แล้ว เราสามารถใช้โปรแกรม wvdial ที่เป็นใช้งานผ่านเทอร์มินัลเป็นเทกซ์โหมด หรือใช้ gnome-ppp ซึ่งเป็นกราฟฟิคโหมดก็ได้ (แต่โปรแกรม gnome-ppp ต้องดาวน์โหลดมาติดตั้งก่อน) สมมุติว่าเราใช้โปรแกรม wvdial ให้เราทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
    • แก้ไฟล์ไฟล์ /etc/wvdial.conf โดยพิมพ์คำสั่งดังนี้

      su -
      mousepad /etc/wvdial.conf

      เพิ่ม หรือแก้ไขในส่วน defaut ดังต่อไปนี้ (กรณีผมใช้มือถือ dtac)

      [Dialer USB]
      Phone = *99#
      Username = dtac
      Password = dtac
      Modem = /dev/ttyACM0
      Baud = 460800
      Modem Type = USB Modem
      Init1 = ATZ
      Init2 = ATQ0 V1 E1 S0=0 &C1 &D2 +FCLASS=0
      Init3 = at+cgdcont=1,"ip","www.dtac.co.th"
      New PPPD = yes
      ISDN = 0

      เสร็จแล้วก็เซฟไฟล์

      === ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับ AIS และ True ===
      AIS ให้ตั้งชื่อ username และ password เป็น ais
      Truemove ให้ตั้ง username และ password เป็น True

      ทั้ง AIS และ True ใน Init3 ให้เปลี่ยน "www.dtac.co.th" เป็น "internet"

    • จากรันก็สั่งรัน wvdial ผ่านเทอร์มินัล โดยใช้คำสั่ง

      wvdial USB (USB เป็นชื่อที่ผมกำหนด ในกรณีที่แก้ใน default ไม่จำเป็นต้องใส่)

    • ถ้าทุกอย่างถูกต้องก็จะสามารถต่อโมเด็มได้ จนกว่าเราจะปิดหน้าต่างเทอร์มินัลนี้ครับ



<<เย้! Aspire One ทุกที่ ทุกเวลา>>

วันอังคารที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

แก้ปัญหาต่อเน็ตเวิร์คไม่ได้หลังจากที่เครื่องหลับไป (เข้าโหมด StandBy)

ในบางครั้งเวลาเราทิ้งเครื่องไว้โดยไม่ใช้เป็นเวลานาน ๆ หรือเราพับฝาจอปิดลงมาจะทำให้เน็ตบุ๊คเข้าสู่โหมด Sleep หรือ Standby (สังเกตจะเห็นสวิตช์เปิดเครื่องจะมีไฟกระพริบสีส้ม) จะปลุกให้กลับมาทำงานอีกครั้งก็กดที่ปุ่มสวิตช์อีกครั้งหน้าจอเดิมก่อนที่จะเข้าโหมดก็จะกลับมา แต่ปรากฏว่าเน็ตเวิร์คมันไม่สามารถทำงานได้อีกแล้ว วิธีแก้ไขก็คือต้องรีสตาร์ทตัวจัดการเน็ตเวิร์คใหม่โดยใช้คำสั่ง restart

วิธีการดังต่อไปนี้
  1. ให้เข้าหน้าต่าง run program โดยการกด Alt+F2
  2. เขียนคำสั่ง su -c '/etc/init.d/NetworkManager restart' พร้อมทั้งเช็คให้ Run in Terminal ด้วย(มันจะถามให้ใส่พาสเวิร์ด)
  3. เมื่อใส่พาสเวิร์ดถูกต้องหลังจากนั้นเน็ตเวิร์คเราก็จะรีสตาร์ทใหม่อีกครั้ง เป็นอันสำเร็จ สามารถปิดหน้าต่าง Terminal ได้

การติดตั้ง USB Bluetooth ใน Linpus Linux Lite บน Acer Aspire One

เนื่องจากความเล็ก และเบาของ Aspire One จึงทำให้สะดวกแก่การ
พกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก สิ่งหนึ่งที่ผมขาดไม่ได้ก็คืออินเตอร์เน็ต ระบบสื่อสารที่มาพร้อมกับ Aspire One A110L ของผมก็มีเพียงไวร์เลสแลน (WLAN) ซึ่งถ้าเราใช้งานอินเตอร์เน็ตในสถานที่ ๆ มีสัญญาณก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าไปต่างจังหวัด หรือที่ ๆ ไม่มีสัญญาณจะทำอย่างไร ที่พึ่งสุดท้ายก็คงหนีไม่พ้นการติดต่อผ่านสัญญาณโทรศัพท์มือถือ (GPRS/EDGE) ซึ่งเราสามารถใช้อุปกรณ์ USB GPRS/EDGE Adapter หรือพวก AirCard ผมเห็นเขาขายกันอยู่ประมาณ 4,000 -5,000 บาท ซึ่งก็แพงเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน แต่โชคยังดีที่มือถือของผม (Nokia E61) สามารถใช้ต่ออินเตอร์เน็ตได้เหมือนกัน สำหรับการต่อผ่านโทรศัพท์นั้นมีอยู่สองวิธีคือ
  • ใช้สาย USB ซึ่งอาจจะไม่ค่อยสะดวกที่จะพกพาไปไหนต่อไหน หรือ
  • ใช้ Bluetooth ไม่ต้องใช้สายแต่ต้องมีอุปกรณ์ Bluetooth
ผมได้ทดลองใช้งานแล้วทั้งสองอย่าง ผลการทำงานก็ไม่ได้แตกต่างกันแต่อย่างใด แต่การติดตั้ง Bluetooth จะยากกว่านิดหน่อยครับ ก็เลยอยากจะแบ่งปันความรู้เผื่อมีผู้ที่ต้องการจะติดตั้งแบบผม


อันดับแรกอุปกรณ์ที่ต้องมีคือ
  1. Aspire One
  2. USB Bluetooth Dongle - ผมไปเดินหาตัวเล็ก ๆ หน่อยจะได้ไม่เกะกะ




ขั้นตอนการติดตั้ง
  1. เสียบอุปกรณ์บลูทูธลงไป ถ้าโชคดีก็จะมีไฟกระพริบแว๊บ ๆ แสดงว่ายังไม่เสีย หรือเช็คโดยการพิมพ์คอมมานด์ lsusb เช็คว่าพบอุปกรณ์ที่มาต่อใหม่หรือเปล่า


    ไฟแสดงสถานะของ Bluetooth USB

  2. ถ้าใครยังไม่ได้ลงโปรแกรม BlueZ ให้ลงซะก่อน สามารถดาวน์โหลดได้ที่ ftp://ftp.acer-euro.com/netbook/aspire_one_110/linux/application/bluetooth.sh.zip สำหรับวิธีการติดตั้งโปรแกรมสามารถอ่านได้จากบทความที่เคยโพสไว้ครับ

  3. เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วในส่วน Setting จะมีไอคอน Bluetooth Preference อยู่ แต่ว่าจะยังไม่มีไอคอนบลูทูธเล็ก ๆ ปรากฏใน System Tray เป็นเพราะว่าลีนุกซ์รุ่นที่เราใช้อยู่นี่ยังขาดไดร์ฟเวอร์ bluetooth.ko (คิดว่าเอเซอร์เขาตัดทิ้งออกไป เพราะเน็ตบุ๊ครุ่นนี้ไม่มีอุปกรณ์บลูทูธ)

  4. สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือสร้างไฟล์ตัวนี้ออกมาให้ได้ก่อน วิธีการมีสองวิธีคือ
  5. (อธิบายเพิ่มเติม) เสียบ Bluetooth USB แล้วพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ในโฟลเดอร์ที่เราโหลดไฟล์มาเก็บไว้

    su -
    cd /home/user/Downloads (ถ้าเซฟไฟล์ไว้ใน Downloads)
    chmod a-x bluetooth.ko
    mv bluetooth.ko /lib/modules/2.6.23.9lw/kernel/net/bluetooth/
    depmod -a
    /etc/init.d/bluetooth start

    Starting Bluetooth services: [ OK ] (ถ้าโอเคจะตอบกลับมาแบบนี้)


  6. รีบูตใหม่ ถ้าสำเร็จก็จะมีไอคอน Bluetooth ปรากฏอยู่ในทาส์กบาร์ด้านล่าง แสดงว่าสำเร็จแล้ว
  7. สำหรับตอนนี้เราใช้งานบลูทูธในการส่งไฟล์ แชร์ไฟล์ได้แล้ว ส่วนการใช้บลูทูธต่อโทรศัพท์ใช้วิธีการคล้าย ๆ กับต่อผ่าน USB แต่ว่ามีวิธีการตั้งค่าต่างกันนิดหน่อย(จะโพสวิธีการให้อีกทีครับ)


วันจันทร์ที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

การเพิ่มลูกเล่นการแสดงผลที่แม้แต่คนใช้วินโดวส์ หรือแมคยังต้องอิจจา ด้วย Compiz

วันนี้ผมขอแนะนำวิธีการเพิ่มเอฟเฟคให้กับหน้าเดกส์ท๊อปของเราโดยการใช้ Compiz รับรองว่าเท่ห์สุด ๆ ขนาดที่คนใช้วินโดวส์ หรือแมคยังต้องหันมามองเลยครับ...


ตัวอย่างเอฟเฟคของ Compiz

สำหรับวิธีการที่ผมจะแนะนำนั้นไม่ยากครับ (วิธียากก็มี แต่อย่าไปทำมันดีกว่า) เนื่องจากตัวลีนุกซ์ที่มาพร้อมกับเอเซอร์เครื่องนี้มันมีโปรแกรม Compiz อยู่แล้ว แต่ว่าแค่ยังไม่ได้เปิดใช้งานมัน วิธีการที่ง่ายที่สุดคือเปิดหน้าต่างรันโปรแกรมโดยการกดปุ่ม Alt+F2 (กดปุ่ม Alt ด้านซ้ายหรือขวาของ SpaceBar ค้างไว้แล้วกดปุ่ม F2 ที่อยู่ข้างบน) จะขึ้นหน้าต่าง Run Program ก็ให้พิมพ์คำว่า compiz-manager และติ๊กที่ Run in Terminal ด้วยครับ ดูรูปข้างล่างประกอบ


เรียกใช้งาน Compiz ผ่านคอมมานด์

เมื่อเรียกใช้งานแล้วจะมีหน้าจอเทอร์มินัลปรากฏดังรูปข้างล่าง แล้วจอจะวูบวาบนิดหน่อยซึ่งหมายถึงว่ามันเริ่มทำงานแล้วครับ

หน้าจอที่ปรากฏหลังจากเรียกใช้งาน Compiz

สำหรับหน้าจอเทอร์มินัลนี้ไม่ต้องไปปิดมันนะครับ minimize ไว้ก่อนก็ได้ (ลองดับเบิ้ลคลิ๊กที่ชื่อวินโดวส์ดูนะครับ) เราไปเล่นลูกเล่นสนุก ๆ ของ Compiz กันก่อนดีกว่า มีอะไรให้เล่นเยอะมาก แต่ผมขอยกตัวอย่างคีย์ที่ผมใช้บ่อยดังนี้ครับ
  • กด Alt+Ctrl และลูกศรซ้าย หรือขวา จะเป็นการหมุนกล่องครับซึ่งมีทั้งหมดสี่ด้าน (มีสี่หน้าจอเดกส์ท๊อป)
  • กด Alt+Ctrl และลูกศรล่าง จะเปลี่ยนมุมมองเป็นหน้าจอเดกส์ท๊อปทั้งสี่หน้าเรียงกันอยู่ จากนั้นสามารถคลิ๊กซ้ายหรือขวาเพื่อเปลี่ยนหน้าจอ
  • ปุ่ม Alt + Tab ใช้เลือกโปรแกรมที่เปิดอยู่ (ลูกเล่นสวยขึ้นกว่าปกติ)
  • อื่น ๆ ดูตารางข้างล่างนะครับ
Desktop Effects1 Keyboard Shortcuts
Rotate Cube Mousewheel on Desktop
Switcher2 Alt + Tab
Shift Switcher3 Super + Tab (2 modes: flip and cover)
Ring Switcher Super + Tab - overrides Shift Switcher
Expo Super + E (toggle)
Film Effect Ctrl + Alt + Down Arrow4
Rotate Cube Manually Ctrl + Alt + Left Mouse Button
Scale Windows Alt + Shift + Up Arrow
Show/Clear Desktop Ctrl + Alt + D (toggle)
Snapping Windows Move a window across workspaces5
Screenshot Super + Left Mouse Button
Zoom In/Out Super + Mousewheel
Transparent Window Alt + Mousewheel
Resize Window Alt + F8
Move Window Alt + F7
Add Helper Super + P
Widget Layer F9 (toggle)
Water Effects Shift + F9 (toggle)
Fire Effects: On Super + Shift + Left Mouse Button
Fire Effects: Clear Super + Shift + C
Annotate: Draw Super + Left Mouse Button
Annotate: Start Super + 1
Annotate: End Super + 3
Group: Select Window(s) Super + S
Group: Group Windows Super + T
Group: Ungroup Windows Super + U
Group: Flip Windows Super + Right or Left Arrow

ขั้นตอนเบื้องต้นก็มีเท่านี้แหละครับ ขอให้สนุกกับการใช้ลีนุกซ์ครับ

<< ลีนุกซ์สวยเลือกได้ (ช่วย ๆ กันเลือกหน่อยเถอะครับ) >>

วันอาทิตย์ที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

การอัพเดต และเพิ่มโปรแกรมในลีนุกซ์ของ Acer Aspire One

ในการจัดการขั้นต้นนั้นผมจะเริ่มจากอะไรที่ไม่ยุ่งยากมากนัก ไม่ต้องมีการเขียนโค๊ดคำสั่งอะไรมากมาย สำหรับผู้ไม่เคยใช้งานระบบยูนิกซ์ หรือระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ก็สามารถที่จะเข้าใจได้ไม่ยากครับ เอาตั้งแต่ได้เครื่องใหม่ ๆ (หรือลงระบบปฏิบัติการใหม่)เลยดีกว่า

หน้าจอปกติหลังจากที่บูต Linpus Linux ของ Aspire One

หลังจากที่บูตเครื่องขึ้นมาใหม่ก็จะมีหน้าจออย่างที่เห็นข้างบน (ยกเว้นไอคอนบลูทูธในทาสก์บาร์ด้านขวาที่ต้องแอดมาเอง) ในหน้าจอนี้ก็จะมาส่วนหลัก ๆ ที่ใช้ในการเก็บแอปปลิเคชั่นโปรแกรมซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ ส่วนตามสีดังต่อไปนี้
  • สีน้ำเงิน เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตและการติดต่อ (ใช้แทน Internet Explorer และ MSN Messenger ในวินโดวส์)
  • สี่ส้ม เกี่ยวกับการทำงาน(ใช้แทน Microsoft Office ในวินโดวส์)
  • สีเหลือง เกี่ยวกับความบันเทิงพวกเกมส์ ดูภาพยนต์ หรือรูปถ่าย(ใช้แทน Media Player ในวินโดวส์)
  • สีเขียวเกี่ยวกับไฟล์ (ใช้แทน Windows Explorer ในวินโดวส์) จริง ๆ ยังไม่หมดยังมีส่วน Setting ที่อยู่ด้านล่างด้วยครับ
โดยส่วนตัวแล้วโปรแกรมที่ผมจะขาดไม่ได้สำหรับผมก็คือ Windows Live Messenger (MSN Messenger เดิม) ซึ่งใน Aspire One เขาก็มีมาให้อยู่ในส่วน Connect แต่ครั้งแรกมันจะออนไลน์ไม่ผ่านถ้าเราไม่ได้อัพเดตซะก่อน (ไม่รู้คนอื่นเป็นเหมือนผมหรือเปล่า) โดยปกติแล้วที่ Icon Tray ในทาสก์บาร์ด้านขวามันจะฟ้องขึ้นมาว่าให้เราอัพเดตข้อมูล แต่ถ้าไม่มี วิธีการอัพเดตซอฟต์แวร์ของ Aspire One ทั้งหมดนั้นให้เลือกที่ Live Update ที่อยู่ในส่วน Setting ครับ ตัวนี้มันจะอัพเดตให้หมด ทุกโปรแกรมเลย

ไอคอน Live Update ในส่วน Setting

หลังจากที่เราได้อัพเดตโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถใช้โปรแกรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ ซึ่งถ้าโปรแกรมที่มีทั้งหมดเพียงพอต่อการใช้งานของเราแล้วก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ถ้าต้องการลงโปรแกรมอื่น ๆ เพิ่มเติมนั้นไม่ง่ายนัก เพราะเท่าที่ดูเอเซอร์ยังไม่ได้ทำให้ซัพพอร์ตในส่วนนี้ (คงเป็นเพราะกลัวว่าถ้าลงโปรแกรมเองแล้วจะทำให้ระบบรวนได้ และลูกค้าส่วนใหญ่ ที่ใช้เน็ตบุคก็เพียงแค่ใช้เบราเซอร์ หรือเมสเซนเจอร์เท่านั้น) แต่พอดีผมไปเจอเว็บเอเซอร์ของต่างประเทศเขามีโปรแกรมที่สามารถติดตั้งพร้อมเพิ่มลงไปในเมนูได้เลย ไม่ต้องไปแก้ไขโค๊ดอะไรให้ยุ่งยาก แต่โปรแกรมยังไม่เยอะเท่าไหร่ และทั้งหมดเป็นฟรีแวร์ครับ อยากทดลองใช้ให้เข้าไปที่นี่ครับ




เว็บ Support ของเอเซอร์ต่างประเทศ

ในเว็บซัพพอร์ตนี้ก็จะแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน ซึ่งก็จะมีโปรแกรมให้เราเลือกดาวน์โหลด ไฟล์ที่ดาวน์โหลดมานั้นจะเป็นไฟล์ xxxxxxx.sh.zip เมื่อคลิกเลือกดาวน์โหลดมาแล้วก็เก็บไว้ที่โฟลเดอร์ Downloads แล้วเราก็เข้าไปเปิดไฟล์โดยคลิกไอคอน My Downloads ในส่วนของ File ถ้าเราดับเบิ้ลคลิ๊กที่ไฟล์ที่เราดาวน์โหลดก็จะเปิดโปรแกรม Xarchiver แล้วก็แตกไฟล์ออกมา เราสามารถดับเบิ้ลคลิ๊กไฟล์นามสกุล .sh เพื่อลงโปรแกรมได้เลย (ถ้าไม่ผ่านต้องอัพเดตโปรแกรมผ่าน Live Update ให้เรียบร้อยเสียก่อน) หลังจากที่ลงโปรแกรมแล้วก็จะมีหน้าจอถามให้รีสตาร์ท หลังจากรีสตาร์ทแล้วก็จะสามารถเรียกใช้โปรแกรมได้โดยที่ไอคอนจะปรากฎอยู่ในเมนูตามประเภทของโปรแกรมนั้น ๆ ครับ

ไฟล์ gimp.sh.zip ที่ถูกแตกไฟล์ออกมา

อยากจะใช้โปรแกรมอะไรก็ลงไปได้เรื่อย ๆ ครับ ที่ผมแนะนำก็จะมี
  • Firefox 3 เพราะตัวที่แถมมาเป็นเวอร์ชั่นสอง
  • Gimp เอาไว้แก้ไขตกแต่งภาพครับ คล้าย ๆ กับโฟโตช๊อป
  • VLC เอาไว้ดูหนัง ฟังเพลง ดีกว่าโปรแกรมที่แถมมาปกติครับ
  • แล้วก็พวกเกมต่าง ๆ
ถึงตอนนี้โปรแกรมจะยังไม่มากนักแต่ต่อไปผมคาดว่าน่าจะเพิ่มขึ้นอีก (ถ้ายังมีคนใช้ลีนุกซ์อยู่ ผมกลัวจริง ๆ ว่าคนจะหนีไปใช้วินโดวส์กันหมด) วันนี้ผมขอจบไว้เพียงเท่านี้ก่อน สุดท้ายขอให้มีความสุขกับลีนุกซ์ครับ

<< อย่าไปใช้เลยวินโดวส์ กลับใจมาใช้ลีนุกซ์กันดีกว่าครับ ได้โปรดเถอะ.... -_-" >>




วันเสาร์ที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

การปรับแต่ง Linpus Linux Lite (Fedora 8)

มาดูรูปกันหน่อย...



สภาพภายนอกยังดูดี (หรือเปล่า)




บลูทูธยูเอสบี (ซื้อมาจากพันธ์ทิพย์ครับ)




หน้าจอปกติของผม ลงโปรแกรมไปเยอะเหมือนกัน



ภาษาจีนก็ลงได้ครับ (เอาไว้แชตกับสาว ^_^)



กำลังต่อโมเด็มมือถือโนเกียครับ